คัดค้าน ของ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

อดีตรองโฆษกกองทัพบกเรียกผู้ประท้วงว่า "ม็อบมุ้งมิ้ง" ทางเฟซบุ๊ก การประท้วงต่อมาบ้างใช้คำว่า "มุ้งมิ้ง" ในชื่อกิจกรรมของพวกตน[61] พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เตือนว่าการกระทำของผู้ประท้วงบางคนอาจเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และน้ำตาคลอเมื่อเล่าถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน[62] ด้านพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เตือนเขาไม่ให้ยุ่งกับผู้ประท้วง และให้ "รีบเกษียณอายุราชการ"[63] ด้านพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งในเดือนตุลาคม 2563 รีบตำหนิข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ทันที พร้อมกับบอกว่าให้ "ปฏิรูปตนเองก่อน"[64]

ด้านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความกังวลถึงโอกาสแพร่กระจายของโรคโควิด-19 แต่วางท่าทีเป็นกลางต่อข้อเรียกร้อง 3 ประการ[65]

นักเรียนเลว ทวิตเตอร์
@BadStudent_

นี่สิ่งที่เพื่อน ๆ ของเราหลายคนต้องเจอค่ะ

- ขู่ตัดแม่ตัดลูกถ้ายังไม่หยุดทำ
- ไม่ให้เงินไปโรงเรียนมาเกือบ 2 เดือน
- เก็บค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่อยู่กับลูกตัวเอง
- จะไล่ออกจากบ้าน ให้ไปอยู่ที่อื่น
- จะส่งไปอยู่ต่างประเทศ
- จะไม่จ่ายค่าเทอมให้

Sep 16, 2020[66]

ผู้ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎรถูกผู้ชุมนุมตอบโต้ในชุดเหลืองทำร้ายร่างกาย, 14 ตุลาคม 2563

การคัดค้านในเวลาต่อมาพยายามอ้างว่ามีรัฐบาลหรือองค์การนอกภาครัฐต่างชาติให้การสนับสนุนการประท้วง วันที่ 10 สิงหาคม สถาบันทิศทางไทย ซึ่งมีอดีตสมาชิกกลุ่ม กปปส. เข้าร่วม[67] เผยแพร่ "แผนผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน" ซึ่งโยงผู้ประท้วงนักศึกษา กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ทักษิณ ชินวัตร ตลอดจนมีการเชื่อมโยงเป็นทฤษฎีสมคบคิดเพื่อทำลายประเทศไทย[68] ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ แกนนำแนวร่วมนวชีวิน ที่มีข่าวว่าเริ่มอดอาหารประท้วงหน้าสัปปายะสภาสถานตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม โดยให้สัมภาษณ์ว่าทำเพื่อเน้นย้ำความยากจนที่เกิดจากโควิด-19[69] แต่ภายหลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าแตกหักกับกลุ่มเยาวชนปลดแอกเนื่องจากไม่พอใจที่ไม่ได้ขึ้นเวที ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายตำรวจ[70] บ้างอ้างว่า ที่องค์การการบริจาคทรัพย์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Endowment for Democracy) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่ได้รับจัดสรรเงินสนับสนุนผ่านรัฐสภาสหรัฐ สนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนฝ่ายผู้ประท้วงนั้น เป็นหลักฐานเชื่อมโยงดังกล่าว[71]

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่วนใหญ่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ประยุทธ์แสดงความไม่สบายใจ[72]ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ขออภัยกรณีข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษา โดยระบุว่าเมื่อนักศึกษามาขอใช้พื้นที่ชุมนุมไม่ได้แจ้งเรื่องนี้[73] ด้าน คุณหญิง ดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่กระทบกระเทือนพระราชอำนาจ[74] ด้านประวิตร โรจนพฤกษ์ตั้งคำถามถึงเงินทุนสนับสนุนและการจัดระเบียบที่มีลักษณะคล้าย นปช. หรือ กปปส.[75] หนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำชั่วร้าย สร้างความแตกแยก อ้างว่าเป็นการประท้วงรัฐบาลหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อบังหน้า แต่เป็นการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเบื้องหลังเป็นพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่[76] ในช่องทางออนไลน์ กลุ่มองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ซึ่งถูกขนานนามในวารสารวิชาการระดับนานาชาติว่าเป็นองค์การคลั่งเจ้า ลัทธิฟาสซิสต์และได้รับการสนับสนุนจากรัฐ[77][78][79] กล่าวหานักศึกษาว่าเป็นพวกล้มเจ้า กบฏ คนทรยศและขยะ[80][81] นอกจากนี้เกิดเหตุทำร้ายร่างกายผู้ประท้วงโดยมวลชนฝ่ายตรงข้าม[82] วันที่ 16 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยกรณีปราศรัยข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันที่ 10 สิงหาคมในข้อหาล้มล้างการปกครอง[83]

หลังจากการเข้าร่วมการชุมนุมของนักเรียนมัธยม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีกรณีการคุกคามนักเรียนอย่างน้อย 103 กรณี[84] ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ประกาศให้รางวัลครูที่ตบสมาร์ทโฟนของนักเรียน และว่าถ้าตนพบเห็นนักเรียนชูสามนิ้วจะจับตีก้น[85] การดูหมิ่นผู้ประท้วงนักเรียนหญิงบางคนไปไกลถึงขั้นว่าสมควรถูกข่มขืนกระทำชำเรา[86] ต่อมาในเดือนกันยายน ทวิตเตอร์กลุ่มนักเรียนเลวโพสต์ว่าสมาชิกกลุ่มบางส่วนได้รับผลกระทบทั้งในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเศรษฐกิจจากการเข้าร่วมการชุมนุม[87]

บางคนและกลุ่มค้านยุทธวิธีของผู้ประท้วง เช่น รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือเพจโปลิศไทยแลนด์ ประณามการสาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจของผู้ประท้วง โดยกล่าวว่าเป็น "ความรุนแรง"[88][89] บางกลุ่มรับไม่ได้กับภาษาหยาบคายที่แกนนำผู้ชุมนุมใช้[90]

ตำรวจและกลุ่มฝ่ายขวาส่วนหนึ่งรังควาน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่เพราะถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการประท้วง[91][92] สื่อหลายสำนักพยายามลงข่าวให้เข้าใจว่าฝ่ายผู้ชุมนุมพยายามก่อให้เกิดความรุนแรงก่อน[93][94]

สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้กองทัพเข้ารักษาความสงบอีกครั้ง แม้นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบกประกาศว่าจะไม่รัฐประหาร[95]

ในเดือนมีนาคม 2564 ผู้อำนวยการซูเปอร์โพลเปิดเผยการสำรวจ 1,858 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9–12 มีนาคม 2564 ระบุว่าผู้ตอบร้อยละ 97.2 ระบุว่าการประท้วงทำให้โควิด-19 แพร่ระบาดมากขึ้น และร้อยละ 97.1 ระบุว่าการประท้วงก่อความเดือดร้อนมากกว่ากฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ร้อยละ 96.2 มุ่งทำร้ายสถาบันหลักอันเป็นหัวใจของคนไทย ร้อยละ 95.2 มองว่าผู้ประท้วงกำลังชักศึกเข้าบ้าน และร้อยละ 94.8 กังวลว่ารัฐบาลต่างชาติอยู่เบื้องหลังผู้ประท้วง ก่อนสรุปว่าคนไทยส่วนใหญ่ "รู้เท่าทันม็อป"[96]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 //www.worldcat.org/issn/1999-2521 //www.worldcat.org/oclc/1059452133 //www.worldcat.org/oclc/7179244833 https://thisrupt.co/current-affairs/global-conspir... https://thisrupt.co/current-affairs/whores-sluts-w... https://www.aljazeera.com/news/2020/08/thai-pm-pro... https://www.amarintv.com/news/detail/39223 https://www.asiasentinel.com/p/thailand-shuts-stro... https://asiatimes.com/2020/08/new-generation-of-da... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853219